วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

กีฬาสีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

สีสันแห่งเตรียมอุดม ช่วงเวลาแห่งความทรงจำ
เมื่อเดือนตุลาคม ช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนผ่านพ้นไป ก็ถึงคราวที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจะเบ่งบานด้วยสีสันของการแข่งขันกีฬาประจำปี นักเรียนทุกคนไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ ต่างมีความกระตือรือร้นในการเตรียมตัวสำหรับงานที่กำลังจะมาถึง และนั่นรวมถึงตัวผมเองด้วย
“กีฬาสี” กิจกรรมที่มิได้มีเพียงแต่การแข่งขันกีฬา หากแต่หลายหลากด้วยรูปแบบสีสันของเหล่าคณะเชียร์ ผนวกกับความสวยงามและความพร้อมเพรียงของขบวนพาเหรด สิ่งเหล่านี้ล้วนสร้างความรู้สึกประทับใจให้แก่เหล่าผู้มาเยือนทั้งหลาย ซึ่งเบื้องหลังของความยิ่งใหญ่ตระการตานี้ แท้จริงแล้วต้องถูกแลกมาด้วยเวลาอันมีค่า หยาดเหงื่อและแรงกายหรือแม้กระทั่ง...น้ำตา
กองเชียร์หรือเรียกอย่างหรูๆว่าสแตนด์ เป็นนักเรียนชั้น ม.4 โดยส่วนใหญ่ของตึก 9 ที่ต้องทำการซักซ้อมทุกๆเที่ยงก่อนรับประทานอาหารกลางวันและหลังเลิกเรียน เท่าที่ข้าพเจ้าจำความได้นั้น มันช่างเป็นช่วงเวลาที่น่าเบื่อเกินบรรยายจริงๆ รุ่นพี่ทุกคนต่างเคร่งครัดกับการฝึกซ้อมมาก การถูกดุจึงถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งในช่วงแรกๆนั้นข้าพเจ้ารู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งเพราะกิจกรรมเหล่านี้มาเบียดบังเวลาเรียนของข้าพเจ้า แต่เมื่อข้าพเจ้าลองนั่งคิดตริตรองดูแล้ว จึงรู้ว่าข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจแม้แต่จุดประสงค์ของกิจกรรมเหล่านี้เลย กีฬาสีมิใช่เพียงแค่เหตุการณ์ที่จะผ่านไปในวันหนึ่งๆเท่านั้น มันเป็นเหมือนแบบทดสอบแสนยากสำหรับนักเรียนทุกคนหากต้องทำทุกอย่างด้วยตัวคนเดียว เพราะมันไม่สามารถถูกขีดเขียนหรือลบได้ด้วยอุปกรณ์การเขียนใดๆ มีเพียงความเสียสละ ความมานะอดทนและความสามัคคีเท่านั้นที่จะแต่งแต้มมันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เริ่มต้นมาจากตัวเราเอง เมื่อข้าพเจ้าคิดได้เช่นนี้แล้ว จึงตั้งใจฝึกซ้อมอย่างแข็งขัน ไม่บ่นกระปอดประแปดและตรงต่อเวลาทุกครั้งเท่าที่เวลาเรียนจะเอื้ออำนวย เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน
มันเป็นความภาคภูมิใจสำหรับข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะเชียร์สีบานเย็น และในฐานะที่เป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ที่ได้ทำหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดแล้ว แม้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็ตาม

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 70 ปี แห่งความทรงจำ

...แย้มบัวบาน ใต้ร่มสีชมพู 70 ปีแห่งความสำเร็จ...
“เวลา” ช่างเหมือนกับสายน้ำเหลือเกิน ไหลเคลื่อนละเรื่อยไปไม่เคยหยุดนิ่ง สายน้ำแท้จริงแล้วมีมากมายในโลก อย่างไรก็ตามแม้จะได้ชื่อว่าเป็นสายน้ำเหมือนกัน ทว่ากลับไหลเร็วไม่เท่ากัน สำหรับธารน้ำแห่งนี้ความเร็วของมันกลับคงที่ตลอดเวลาไม่เคยเปลี่ยนแปลง จะผิดแปลกไปก็ต่อเมื่อความรู้สึกของเราเพิ่มหรือชะลอความเร็วของมันเท่านั้น และในทางที่น้ำไหลผ่าน บางครั้งมันได้ทิ้งร่องรอยไว้กับผืนดินที่รองรับมันด้วย ร่องรอยที่ว่านี้มันช่างเหมือนกับรอยแห่งอดีตเสียจริง มันยังคงมีให้เห็นอยู่จนถึงทุกวันนี้และจะประดับอยู่ตรงนั้นตลอดไป เฉกเช่นเดียวกับความทรงจำที่มนุษย์อย่างเราสรรสร้างขึ้นมา ประวัติและเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ได้ถูกบันทึกไว้ในสมุดเล่มใหญ่ที่สุด มีความซับซ้อนมากที่สุด ทำให้เรามิอาจคาดเดาได้ว่าหน้าต่อไปของสมุดจะมีสิ่งใดปรากฏอยู่ “สมุดของเวลาและความทรงจำ” แต่สิ่งต่างๆ มิอาจอยู่ได้อย่างยั่งยืนถาวร การที่บางอย่างจะถูกลบเลือนหายไปจึงเป็นเรื่องปกติทั่วไป เว้นแต่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งสำคัญ ยากยิ่งที่จะลืมเลือนดั่งเช่นประวัติของโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่ายอดเยี่ยมที่สุดในประเทศไทย “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา”
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเดิมชื่อ “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ตั้งอยู่ที่ถนนพญาไท ติดกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกก่อตั้งขึ้นโดยคณะท่านหม่อมหลวงปิ่น มาลากุลเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2480 ผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน เดิมที่โรงเรียนนี้สังกัดอยู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเตรียมนักเรียนแผนกต่างๆไว้สำหรับเข้าศึกษาต่อในคณะต่างๆของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ ต่อมาได้ถูกโอนไปสังกัดกรมวิสามัญศึกษา และมีระเบียบกำหมดให้นักเรียนที่เรียนจบการศึกษาจากโรงเรียนนี้สอบคัดเลือกเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับนักเรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษาของโรงเรียนทั่วไป ทั้งยังได้ตัดว่า “แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ออก คงเหลือคำว่า “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา” เท่านั้น

ภายใต้ร่มสีชมพูคันนี้ มีภูมิทัศน์โดยรอบงดงามยิ่ง หลายหลากไปด้วยพฤกษานานาพันธุ์ ที่พร้อมใจกันโบกพลิ้วเมื่อต้องสายลม สงบร่มเย็นด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของสัญลักษณ์แห่ง กษัตริยานุสรณ์จุฬาลงกรณ์ และพระปริวรรติเทพผู้สถิตคู่สถาบันนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หากเราลองเยื้องย่างเข้ามาภายในรั้วแห่งนี้ เราจะพบกับสระบัวขนาดใหญ่ ที่เต็มไปด้วยดอกบัวมากมาย ดอกใหญ่บ้างเล็กบ้าง หุบบานคละกันไป ศิษย์เตรียมอุดมศึกษาเปรียบได้กับบัวในสระ ที่แม้ว่าจะต่างกันเพียงไร ก็อยู่ในสระเดียวกัน เติบโตขึ้นมาร่วมกันและคอยปกป้องซึ่งกันและกัน เหมือนกับสายสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง เพื่อนกับเพื่อน ที่สานกันอย่างแน่นแฟ้นและมั่นคง แล้วสายสัมพันธ์เหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร คำว่า “เวลา” คงไม่เพียงพอกับการสร้างสิ่งนี้เป็นแน่
เวียนมาบรรจบครบ 70 ปี ประเพณีต่างๆในรั้วจามจุรียังคงเป็นดั่งเช่นวันก่อน “การรับน้อง” ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่รุ่นพี่ตั้งหน้าตั้งตาคอยมากที่สุด “การรับน้อง”เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง โดยมีกิจกรรมกลุ่มเป็นสื่อกลาง ทำให้รุ่นพี่และรุ่นน้องมีโอกาสได้สนทนา แลกเปลี่ยนทรรศนะ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่กันและกันตามสมควร ซึ่งจะมีรูปแบบของกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปตามห้องและสายวิชา นอกจากกิจกรรม “รับน้อง” แล้ว “กีฬาสี” ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยสอนให้นักเรียนรู้จักการคิดวางแผน มีความเป็นผู้นำ และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ อีกด้วย
เมื่อได้ขึ้นชื่อว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง นั่นคือ “มีความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม” ซึ่งได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคมมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว จนกระทั่งวันนี้ กาลเวลาได้ล่วงเลยมาถึง 70 ปีแล้ว โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษายังคงยืนหยัดและมั่นคงดุจต้นไม้ใหญ่ ที่แตกกิ่งก้านสาขาด้วย “วิถีแห่งเตรียมอุดม” อันงดงามเป็นหนึ่งเดียว...วันนี้แม้ว่าเราจะเป็นเพียงดอกบัวตูม แต่ซักวันหนึ่งเมื่อถึงเวลาเราก็พร้อมที่จะเบ่งบานอย่างสง่างามด้วยศักดิ์ศรีแห่งเตรียมอุดม

แบบทดสอบ เรื่อง การหายใจ ระบบขับถ่ายและระบบลำเลียง


แบบทดสอบวัดผลความรู้พื้นฐาน ชุดที่ 2
วิชา วิทยาศาสตร์(ชีววิทยา) เรื่อง Respiration ,Excretion, Circulatory system
คำชี้แจง จงเติมคำหรือตอบคำถามให้ได้ใจความครบถ้วนสมบูรณ์
**หมายเหตุ บางคำถามควรตอบโดยใช้ technical term**
1.ปัจจัยใดมีผลต่อรูปแบบของN-waste ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด (บอกมาอย่างน้อย 2 ประการ)........
2.เหตุใดสัตว์น้ำโดยส่วนใหญ่จึงขับN-wasteในรูปของแอมโมเนีย........
3.จงบอกข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของสัตว์ที่ขับถ่ายของเสียในรูปของยูเรียเมื่อเทียบกับสัตว์ที่ขับถ่ายของเสียในรูปของแอมโมเนีย……....
4.โครงสร้างและรูปแบบของ respiratory surface or respiratory organs ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับสิ่งใดบ้าง...............
5.เพราะเหตุใดพวก Amphibian จึงมีปอดขนาดเล็ก..................
6.ศูนย์ควบคุมการหายใจของมนุษย์ได้แก่สมองส่วน......................................
7.อุปกรณ์ใดใช้ศึกษาปริมาตรของอากาศในปอดมนุษย์.................................
8.เหตุใดนกและสัตว์เลื้อยคลานจึงมีรูปแบบของ N-waste ต่างจากพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ....................................................
9.จงบอกข้อแตกต่างของ Hemoglobin and Hemocyanin มาอย่างน้อย 3 ประการ
10.การบีบและคลายตัวของหัวใจในการส่งเลือดจากห้อง atrium ไปยังห้อง ventricle อาศัยการกระตุ้นจากเนื้อเยื่อพิเศษที่เรียกว่า.........................................
11.หาก Atrioventricular valves เสียหายหรือทำงานบกพร่อง จะส่งผลต่อร่างกายของคนเราอย่างไร..............
12.Cardiac output คืออะไรและมีปัจจัยใดเป็นตัวควบคุม (บอกมา 2 ประการ).................
13.เมื่อร่างกายของคนเราขาด nephron บริเวณ Ascending loop of Henle แล้วร่างกายจะสามารถรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายได้หรือไม่ จงอธิบาย................
14.เหตุใดปลาทะเลบางชนิดจึงไม่มี glomerulus และ Bowman’s Capsule ประกอบอยู่ใน nephron................
15.เอนไซม์ตัวใดที่กระตุ้นให้กรดคาร์บอนิกส์ในเม็ดเลือดแดงแตกตัวเป็น ไฮโดรเจนไอออน และไบคาร์บอเนตไอออน........................

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551

Homeostasis 3


Forms of nitrogenous wastes

สัตว์แต่ละชนิดมีการขับ nitrogenous wastes ต่างชนิดกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ evolutionary history and Habitat ชึ่งเราสามารถแยกเป็นรูปแบบต่างๆได้ดังนี้

1.Ammonia

สัตว์น้ำโดยส่วนใหญ่จะขับถ่ายของเสียออกมาเป็นแอมโมเนียเพราะโมเลกุลของแอมโมเนียสามารถเคลื่อนผ่าน membrane ได้ง่ายและน้ำพร้อมที่จะแพร่ไปยังน้ำรอบตัวโดยตรง ซึ่งแอมโมเนียที่ปนออกไปนั้นมีความเข้มข้นมากนัก(มีน้ำผสมอยู่มาก)ทำให้การขับถ่ายแต่ละครั้งสามารถขับน้ำออกไปได้มากเช่นกัน

2.Urea

สัตว์บกโดยมากขับถ่ายของเสียเป็นยูเรียเพราะสามารถขับออกได้ในความเข้มข้นที่มาก(ความเป็นพิษน้อยกว่าแอมโมเนียประมาณ 100,000 เท่า)

3.Uric acid

แมลง ทากบกและนกจะขับถ่ายของเสียในรูปกรดยูริกเพื่อลดการสูญเสียน้ำในร่างกาย(กรดยูริกมีความเป็นพิษน้อยที่สุด)

Homeostasis 2


Marine animals,Freashwater animals,Animals that live in temporary water,Land animals

การรักษาดุลยภาพของร่างกายในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆมีความหลากหลาย ซึ่งเราสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มต่างๆดังนี้

1.สัตว์ทะเล

โดยส่วนใหญ่แล้วสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลพวกที่ไม่มีกระดูกสันหลังมักเป็น osmoconformer แต่พวกมีกระดูกสันหลังทั้งหมดเป็น osmoregulator ปลาทะเลจะดื่มน้ำเข้าไปเป็นจำนวนมากเพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกายและกำจัดไอออนทางเหงือกและปัสสาวะซึ่งมีความแตกต่างจากฉลาม(ฉลามเป็นปลากระดูกอ่อน)เพราะเนื่องด้วยฉลามมี TMAO คือของเหลวที่ช่วยป้องกันโปรตีนจากการทำลายโดยยูเรีย

2.สัตว์น้ำจืด

มีปัญหาในการรักษาธำรงดุลของร่างกายตรงกับสัตว์น้ำเค็ม คือต้องอาศัยเหงือกในการจับไอออนแทนที่จะขับออกเหมือนปลาน้ำเค็ม

3.สัตว์ที่อยูในน้ำชั่วคราว

มีการปรับตัวแบบ Anhydrobiosis หมายถึงการที่มีชีวิตอยู่ได้ในสภาพนิ่งภายในที่ๆมีความแห้งแล้งเป็นอย่างมาก ซึ่งจะมีกลไกในการนำน้ำตาลโมเลกุลคู่บางชนิดมาใช้ในการปกป้องเซลล์จากความแห้งแล้ง

4.สัตว์บก

ความแห้งแล้งมีผลอย่างมากต่อการดำรงชีวิต จึงได้มีปรับตัวทั้งทางด้านสรีรวิทยาและสัณฐานวิทยา เช่น พืชมีการสร้าง waxy cuticle ป้องกันการระเหยของน้ำ สัตว์บางชนิดมีการสร้างชั้นของผิวหนังเพิ่มเป็นพิเศษหรืออาจมีการออกหากินยามค่ำคืนเพื่อลดการสูญเสียน้ำ

แบบทดสอบ เรื่อง สารเคมีภายในเซลล์และระบบย่อยอาหาร



แบบทดสอบวัดผลความรู้พื้นฐาน ชุดที่ 1
วิชา วิทยาศาสตร์(ชีววิทยา) เรื่อง Chemistry of life, Digestion
คำชี้แจง จงเติมคำหรือตอบคำถามให้ได้ใจความครบถ้วนสมบูรณ์
**หมายเหตุ บางคำถามควรตอบโดยใช้ technical term**
1.โมเลกุลอินทรีย์อันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชีวโมเลกุล คือ....................................
2.จงอธิบายความแตกต่างทางโครงสร้างหรือองค์ประกอบทางเคมีระหว่างคาร์โบไฮเดรตและไขมัน........
3.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างน้ำตาลชนิด α และน้ำตาลชนิด β รวมถึงยกตัวอย่างน้ำตาลมาชนิดละ 1 อย่าง......................................................
4.จงบอกลักษณะร่วมของ น้ำมัน ไขมัน และขี้ผึ้งมาอย่างน้อย 2 ประการ......................
5.เนยเทียมมีสารที่เรียกว่า Hydrogenated oil ประกอบอยู่ซึ่งเกิดจาก glycerol รวมตัวอยู่กับ.................
6.กรดอะมิโนที่มีโครงสร้างอย่างง่ายที่สุดคือกรดอะมิโนชนิดใด...............
7.Hemoglobin เป็นโปรตีนที่มีอะตอมของโลหะชนิดใดประกอบอยู่และเรียกโปรตีนประเภทนี้ว่า...............
8.เหตุใดกรดอะมิโนและโปรตีนจึงเป็นบัฟเฟอร์ที่สำคัญทางชีววิทยา.............................
9.ปัจจัยใดบ้างที่มีผลกระทบต่อการทำงานของเอนไซม์................................
10.แบคทีเรียและโพรโทซัวที่ช่วยย่อยเซลลูโลสในกระเพาะส่วนรูเมนมีความเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดอะมิโนรวมถึงกรดไขมันและวิตามินชนิดใด................................
11.เอนไซม์ที่สามารถแปรสภาพ Trypsinogen ให้อยู่ในสภาพที่ทำงานได้ หลั่งมาจากอวัยวะใดและมีชื่อเรียกว่า........................................
12.เพราะเหตุใดสัตว์กินพืชจึงมีลำไส้ยาวกว่าพวกกินสัตว์........................................
13.ไขมันถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดน้ำเหลืองด้วยวิธีการลำเลียงสารแบบใด.................................
14.เหตุใดการดูดซึม monosaccharide จึงต้องผ่านหลอดเลือด hepatic portal vein เข้าสู่ตับก่อนจึงจะผ่านเข้าสู่หัวใจ.........................................
15.เอนไซม์ตัวใดที่ย่อยสลายสายเพปไทด์จากปลายที่ประกอบด้วยหมู่ Carboxyl………………

Homeostasis 1


Osmoregulation หมายถึงการที่สิ่งมีชีวิตมีการจักการกับความเข้มข้นของสารละลาย และรักษาสมดุลของน้ำ
ซึ่งเราสามารถแยกออกมาเป็นประเด็นต่างๆได้ดังนี้
1.Osmosis คือ การเคลื่อนที่ของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน โดยมี osmotic pressure เข้ามาเกี่ยวข้อง
2.การท้าทายของสิ่งมีชีวิต เราสามารถจำแนกสิ่งมีชีวิตโดยใช้การเปลี่ยนแปลงของสารละลายในร่างกายเป็นเกณฑ์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
2.1Osmoconformer คือสัตว์ซึ่งไม่ค่อยมีการปรับ osmolarity ในร่างกายเพราะมันเป็น isoosmotic กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมัน
2.2Osmoregulator คือสัตว์ซึ่งต้องปรับ osmolarity ภายในให้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

3.Stenohaline และ Euryhaline

3.1Stenohaline คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสสารซึ่งก่อให้เกิดการการแปรผันของ external osmolarity

3.2Euryhaline คือ สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะตรงข้ามกับ Stenohaline

*รากศัพท์ภาษากรีก 1.stenos=narrow 2.eurys=broad 3.haline=salt